“ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” ความสำคัญของหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

ตามที่ผมได้รับปากกับเพื่อนๆ ไว้ว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการสาธิตขั้นตอนในการคำนวณหาว่า หากเรามีหน้าตัดโครงสร้างเสา คสล ที่ถูกโอบรัดด้วยเหล็กปลอกแล้ว เราจะมีวิธีในการคำนวณหาค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างได้อย่างไรบ้าง ดังนั้นเพื่อเป็นการไม่เสียเวลาผมจะทำการอธิบายขั้นตอนในการคำนวณผ่านตัวอย่างที่ผมได้ทำการกำหนดขึ้นมาก็แล้วกันนะครับ


ผมมีหน้าตัดของโครงสร้างเสา คสล ขนาดความกวามกว้างระบุหรือ NOMINAL WIDTH เท่ากับ 500 MM และความลึกระบุหรือ NOMINAL DEPTH เท่ากับ 700 MM แต่จะมีค่าความลึกที่ถูกทำการก่อสร้างจริงหรือ ACTUAL DEPTH เท่ากับ 690 MM โดยที่คอนกรีตนั้นจะมีค่าหน่วยแรงแรงอัดของคอนกรีตที่ยังไม่ถูกโอบรัดทางด้านข้างหรือ fc’ มีค่าเท่ากับ 210 KSC และเหล็กปลอกนั้นจะเป็นเหล็กข้ออ้อยที่มีค่าหน่วยแรงดึงที่จุดครากมีค่าเท่ากับ 4000 KSC ทั้งนี้ผมกำหนดให้ใช้ค่าตัวคูณกำลังส่วนเกินของวัสดุหรือ OVER STRENGTH FACTOR มีค่าเท่ากับ 1.25 และรายละเอียดของการเสริมเหล็กยืนและเหล็กปลอก รวมถึงมิติต่างๆ ของโครงสร้างเสา คสล และการเสริมเหล็กนั้นจะเป็นไปตามรูปที่ 1 ที่ผมได้แนบเอาไว้ในโพสต์ๆ นี้ หากผมทำการเสริมให้เหล็กปลอกทุกๆ เส้นภายในหน้าตัดของหน้าตัดของโครงสร้างเสา คสล นี้มีค่าของระยะห่างของเหล็กปลอกหรือ S ที่เท่าๆ กัน ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ 150 MM ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำการคำนวณหาว่าค่าหน่วยแรงแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างหรือ fcc’ ของหน้าตัดของโครงสร้างเสา คสล ต้นนี้จะมีค่าเท่ากับเท่าใดไปพร้อมๆ กันนะครับ

เริ่มต้นจากอย่างแรกเลยคือ เราจะต้องทราบก่อนว่าเหล็กปลอกที่ใช้เสริมในหน้าตัดของโครงสร้างเสา คสล ของเรานั้นมีค่าเท่ากับเท่าใด ซึ่งกรณีของปัญหาข้อนี้เราจะพบว่า เหล็กปลอกนั้นจะมีขนาดที่เท่าๆ กันทั้งหมดนั่นก็คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 12 MM ดังนั้นจะทำให้ค่าพื้นที่หน้าตัดของเหล็กปลอก 1 เส้น นั้นมีค่าเท่ากับ
Abh = π × (12/10)^(2) / 4
Abh = 1.13 CM^(2)

เราจะมาเริ่มต้นทำการคำนวณหาค่าแรงเค้นที่เกิดจากการโอบรัดของหน้าตัดของโครงสร้างเสา คสล ในด้านกว้างหรือ f2 กันก่อน ซึ่งก็จะพบว่าจะมีเหล็กปลอกที่ทำหน้าที่ในการโอบรัดเหล็กยืนอยู่ในด้านกว้างนี้ทั้งหมดเท่ากับ 3 เส้น ทำให้พื้นที่ของเหล็กปลอกที่ทำการโอบรัดอยู่ในด้านกว้างหรือ Ash2 นั้นจะมีค่าเท่ากับ
Ash2 = 1.13 × 3
Ash2 = 3.39 CM^(2)

ส่วนความกว้างของโครงสร้างเสา คสล ที่ถูกโอบรัดหรือ BC2 นั้นจะมีค่าเท่ากับ 420 MM ดังนั้นเราจะสามารถทำการคำนวณหาค่าๆ นี้ได้จากสมการต่อไปนี้
f2 = Ash2 × fs / ( BC2 × S )
f2 = 3.39 × 1.25 × 4000 / ( 420/10 × 150/10)
f2 = 26.9 KSC

ต่อมาเราจะมาทำการคำนวณหาค่าแรงเค้นที่เกิดจากการโอบรัดของหน้าตัดของโครงสร้างเสา คสล ในด้านลึกหรือ f3 กันต่อ ซึ่งก็จะพบว่าจะมีเหล็กปลอกที่ทำหน้าที่ในการโอบรัดเหล็กยืนอยู่ในด้านลึกนี้ทั้งหมดเท่ากับ 4 เส้น ทำให้พื้นที่ของเหล็กปลอกที่ทำการโอบรัดอยู่ในด้านกว้างหรือ Ash3 นั้นจะมีค่าเท่ากับ
Ash3 = 1.13 × 4
Ash3 = 4.52 CM^(2)

ส่วนความลึกของโครงสร้างเสา คสล ที่ถูกโอบรัดหรือ BC3 นั้นจะมีค่าเท่ากับ 610 MM ดังนั้นเราจะสามารถทำการคำนวณหาค่าๆ นี้ได้จากสมการต่อไปนี้
f3 = Ash3 × fs / ( BC3 × S )
f3 = 4.52 × 1.25 × 4000 / ( 610/10 × 150/10)
f3 = 24.7 KSC

ต่อมาเราจะมาทำการคำนวณหาค่าสัดส่วนระหว่างค่าระยะห่างของเหล็กปลอกต่อระยะของเสาแต่ละด้านโดยเฉลี่ยของหน้าตัดโครงสร้างเสา คสล นี้กัน ซึ่งเราจะสามารถทำการคำนวณหาค่าๆ นี้ได้จากสมการต่อไปนี้
S/BC AVERAGE = ( S/BC2 + S/BC3 ) / 2
S/BC AVERAGE = ( 150/420 + 150/610 ) / 2
S/BC AVERAGE = 0.30

ในขั้นตอนต่อมาเราจะมาทำการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์การโอบรัดแบบประสิทธิผลหรือค่า ke กัน เมื่อเราพิจารณาหน้าตัดของโครงสร้างเสา คสล ของเราแล้วก็จะพบว่า จะมีเหล็กยืนที่ถูกยึดด้วยเหล็กปลอกหรือ NL อยู่ทั้งหมด 10 เส้น ด้วยกัน ดังนั้นเราจะสามารถทำการคำนวณหาค่าๆ นี้ได้จากสมการต่อไปนี้
Ke = ( 1 ‒ S/BC AVERAGE ) × ( NL ‒ 2 ) / NL
Ke = ( 1 ‒ 0.30 ) × ( 10 ‒ 2 ) / 10
Ke = 0.56

ดังนั้นเราจะสามารถทำการคำนวณหาค่าแรงเค้นที่เกิดจากการโอบรัดของหน้าตัดของโครงสร้างเสา คสล แบบประสิทธิผลหรือ fie ซึ่งจะสามารถทำการคำนวณได้จากผลของการคูณกันระหว่างค่า ke กับค่า fi ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ
f2e = ke × f2
f2e = 0.56 × 26.9
f2e = 15.06 KSC
และ
f3e = ke × f3
f3e = 0.56 × 24.7
f3e = 13.83 KSC

หลังจากนั้นเราจะมาทำการคำนวณหาค่าที่อยู่ในแกน X และ Y ที่เราจะนำไปใช้ในการพิจารณาต่อในแผนภูมิในรูปที่ 2 ที่ผมได้แนบมาในโพสต์ๆ นี้ด้วย ซึ่งก็จะเป็นค่าสัดส่วนระหว่างค่าแรงเค้นที่เกิดจากการโอบรัดของหน้าตัดของโครงสร้างเสา คสล แบบประสิทธิผลส่วนด้วยค่าหน่วยแรงแรงอัดของคอนกรีตที่ยังไม่ถูกโอบรัดทางด้านข้างที่ถูกปรับแก้ค่าแล้ว ทั้งนี้สำหรับปัญหาข้อนี้ผมจะใช้ค่าการปรับแก้เท่ากับ 0.85 ตามที่มาตรฐานการออกแบบได้แนะนำให้ใช้ก็แล้วกันนะ ดังนั้นค่าในแกน X และ Y ก็จะมีค่าที่ได้จากการคำนวณเท่ากับ
X = f3e / ( C × fc’ )
X = 13.83 / ( 0.85 × 210 )
X = 0.077
และ
Y = f2e / ( C × fc’ )
Y = 15.06 / ( 0.85 × 210 )
Y = 0.084

ซึ่งผลจากการพิจารณาค่าในแกน X และ Y ก็จะพบว่าค่าหน่วยแรงแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างส่วนด้วยค่าหน่วยแรงแรงอัดของคอนกรีตที่ยังไม่ถูกโอบรัดทางด้านข้างที่ถูกปรับแก้ค่าแล้วจะมีค่าประมาณ 1.45 ดังนั้นหากเราแทนค่าๆ นี้ลงไปในสมการข้างล่าง เราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าหน่วยแรงแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างออกมาได้มีค่าเท่ากับ
fcc’ / ( C × fc’ ) = 1.45
fcc’ / ( 0.85 × 210 ) = 1.45
fcc’ = 1.45 × 0.85 × 210
fcc’ = 259 KSC
fcc’ ≈ 260 KSC

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าค่าหน่วยแรงแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างนั้นจะมีค่าสูงกว่าค่าหน่วยแรงแรงอัดของคอนกรีตที่ยังไม่ถูกโอบรัดทางด้านข้างอยู่ที่ประมาณ 1.24 เท่า ทั้งนี้หากเรามีความต้องการที่จะเพิ่มค่าสัดส่วนของค่าหน่วยแรงนี้ให้มีค่าที่เพิ่มสูงขึ้นกว่านี้อีก นั่นก็แสดงว่าเราจะต้องทำการลดระยะช่วงว่างของเหล็กปลอกให้มีความถี่มากยิ่งขึ้นและ/หรือทำการเพิ่มขนาดของพื้นที่หน้าตัดของเหล็กปลอกในแต่ละชั้นให้มีค่าที่มากยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันจันทร์
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#ความสำคัญของหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้าง
#ครั้งที่2
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam