ประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง – โครงสร้างหลังคายื่น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ
หลังจากที่ในหลายๆ สัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมเคยได้พูดถึงเรื่องโครงสร้างๆ หนึ่งในการโพสต์หลายๆ ครั้งของผม ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมานั้นตัวของผมเองก็ไม่เคยมีโอกาสที่จะได้ทำการขยายความและอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างๆ นี้โดยละเอียดสักที ผมเลยอยากจะขอใช้พื้นที่ในการโพสต์ประจำทุกๆ วันพุธแบบนี้ในการพูดถึงเรื่องของเจ้าโครงสร้างประเภทนี้นั่นก็คือ โครงสร้างหลังคายื่น หรือ CANOPY ROOF STRUCTURE นั่นเองครับ


โดยที่โพสต์ในวันนี้ผมจะขอเริ่มต้นโดยการพาเพื่อนๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกันกับประเภทหลักๆ ของ โครงสร้างหลังคาแบบยื่น กันก่อนซึ่งก็จะประกอบไปด้วย
1. โครงสร้างหลังคายื่นที่ไม่อาศัยชิ้นส่วนอื่นๆ ในการรับแรง
2. โครงสร้างหลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงดึง
3. โครงสร้างหลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงอัด

พอเห็นชื่อข้างต้นก็อย่าเพิ่งงงกันไปเพราะจริงๆ แล้วชื่อทั้ง 3 ข้างต้นนั้นถูกจัดเรียงตามประเภทของคุณลักษณะของจุดต่อหรือ BOUNDARY CONDITIONS ของหลังคายื่นและชิ้นส่วนที่จะเข้ามาช่วยในการรับแรง ดังนั้นเรามาเริ่มต้นทำความรู้จักกับหลังคาแบบยื่นประเภทแรกกันเลย
1. โครงสร้างหลังคายื่นที่ไม่อาศัยชิ้นส่วนอื่นๆ ในการรับแรง ซึ่งก็จะเป็นไปตามรูปที่ 1 โดยที่เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า หลังคายื่นที่ไม่อาศัยชิ้นส่วนอื่นๆ ในการรับแรงนั้นจะอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพด้วยตัวของโครงสร้างหลังคาเอง โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีชิ้นส่วนใดๆ ในการช่วยเพิ่มเสถียรภาพหรือช่วยรับแรงเพิ่มเติมเลย ดังนั้นจุดต่อของหลังคายื่นชนิดนี้จะมีความต้องการทางด้านคุณลักษณะของจุดต่อขั้นต่ำที่สุดก็คือ เป็นจุดต่อแบบยึดแน่นหรือ RIGID SUPPORT นะครับ
2. โครงสร้างหลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงดึง ซึ่งก็จะเป็นไปตามรูปที่ 2 โดยที่เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า หลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงดึงนั้นจะอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพด้วยตัวชิ้นส่วนโครงสร้างที่จะทำหน้าที่ในการช่วยรับแรงดึงและโดยมากแล้วเจ้าชิ้นส่วนโครงสร้างชิ้นนี้จะถูกติดตั้งให้อยู่ที่ด้านบนของหลังคายื่น ดังนั้นจุดต่อของหลังคายื่นชนิดนี้จะมีความต้องการทางด้านคุณลักษณะของจุดต่อขั้นต่ำที่สุดก็คือ เป็นจุดต่อแบบกึ่งยึดแน่นหรือ SEMI-RIGID SUPPORT นะครับ
3. โครงสร้างหลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงอัด ซึ่งก็จะเป็นไปตามรูปที่ 3 โดยที่เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า หลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงอัดนั้นจะอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพด้วยตัวชิ้นส่วนโครงสร้างที่จะทำหน้าที่ในการช่วยรับแรงอัดและโดยมากแล้วเจ้าชิ้นส่วนโครงสร้างชิ้นนี้จะถูกติดตั้งให้อยู่ที่ด้านล่างของหลังคายื่น ดังนั้นจุดต่อของหลังคายื่นชนิดนี้จะมีความต้องการทางด้านคุณลักษณะของจุดต่อขั้นต่ำที่สุดก็คือ เป็นจุดต่อแบบอย่างง่ายหรือ SIMPLE SUPPORT นะครับ

หลังจากที่วันนี้เพื่อนๆ ได้ทำความรู้จักกันกับคุณลักษณะต่างๆ ของจุดต่อที่สามารถจะแบ่งออกได้ตามประเภทหลักๆ ของโครงสร้างของหลังคายื่นทั้ง 3 ประเภทข้างต้นกันแล้วในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตนำเอาเรื่องของรายละเอียดต่างๆ ของเจ้าดครงสร้างหลังคายื่นแต่ละประเภทนั้นมาขยายความให้แก่เพื่อนๆ ก็แล้วกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพื่อนๆ นั้นได้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ที่มากยิ่งขึ้นและหากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจเนื้อเรื่องเกี่ยวกับหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ของผมได้ในการพบกันในครั้งต่อไปของเราได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#ความรู้เรื่องโครงสร้างหลังคายื่น
#ครั้งที่1
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com