การวิเคราะห์โครงสร้างด้วยไฟไนต์อีลีเม้นต์ หรือ FINITE ELEMENT ANALYSIS หรือเขียนสั้นๆ ว่า FEA

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันศุกร์ (แห่งชาติ) แบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะได้มาพูดคุยและเสวนากันถึงหัวข้อ “ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้” นะครับ

สืบเนื่องมาจากการที่มีรุ่นน้องวิศวกรท่านหนึ่งเค้าคงจะทราบมาว่าตัวผมนั้นเป็นสามัญวิศวกรโยธาที่ทำงานทางด้านการออกแบบและการเสริมกำลังให้แก่โครงสร้างมาก็ไม่น้อย เค้าจึงได้ฝากคำถามสั้นๆ แต่ได้ใจความเข้ามาคำถามหนึ่งในทำนองว่า อยากให้ผมให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีกระบวนการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยไฟไนต์อีลีเม้นต์ หรือ FINITE ELEMENT ANALYSIS หรือเขียนสั้นๆ ว่า FEA เวลาที่ผมจะต้องทำการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างงานใดๆ ก็ตาม ซึ่งพอผมเจอกับคำถามๆ นี้ผมก็นั่งคิดคำตอบอยู่ครู่หนึ่งเพราะเอาเข้าจริงๆ นั้นเทคนิคเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้มีอยู่มากมายหลากหลายประการมากๆ แต่เอาเป็นว่าในวันนี้ผมขอเริ่มต้นจากเทคนิคๆ หนึ่งซึ่งถือได้ว่าเป็นพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้เลยแต่ก็ต้องขออนุญาตออกตัวไว้ก่อนเลยว่า เทคนิคที่ผมจะนำเอามาฝากนี้เป็นเทคนิคส่วนตัวเพียงเท่านั้น สุดท้ายใครจะจดจำและนำไปใช้ก็สุดแท้แต่วิศวกรแต่ละท่านได้เลยนะครับ

เทคนิคที่ผมตั้งใจนำเอามาฝากเพื่อนๆ ในวันนี้จะมีประโยชน์มากๆ สำหรับกรณีที่เรามีความต้องการที่จะทำการกำหนดให้โครงสร้างของเรานั้นทำการพิจารณาถึงกรณีของน้ำหนักบรรทุกหลายๆ กรณีพร้อมๆ กันเพื่อนำเอาผลที่เกิดขึ้นนั้นไปใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างของเรา ซึ่งคำสั่งนี้ก็คือ คำสั่ง DEFINE COMBINATIONS นั่นเองครับ

สำหรับวิธีการใช้คำสั่งนี้ก็ง่ายมากๆ เลยนะ ทั้งนี้ให้เพื่อนๆ ทำการเลือก MAIN-TAB ทั่วๆ ไปหรือ GENERAL TAB จากนั้นก็ไปเลือก SUB-TAB เป็น LOAD & DEFINITION จากนั้นก็ทำการเลือกคำสั่ง LOAD CASE DETAILS และก็กดปุ่ม ADD สุดท้ายก็คือทำการเลือกคำสั่ง DEFINE COMBINATIONS ก็จะขึ้น WINDOWS ขึ้นมาตามที่แสดงอยู่ในรูปประกอบของโพสต์ๆ นี้นะครับ

ขั้นตอนแรกก็คือ ให้เราทำการกำหนด ลำดับ และ ชื่อของ COMBINATION LOAD CASE ของเราก่อน ซึ่งในที่นี้ผมใช้ค่าของ LOAD NO. เท่ากับ 6 และตั้งชื่อว่า 0.75(1.4DL+1.7LL+1.7WL) ซึ่งก่อนหน้านี้ผมได้ทำการตั้งให้ MAIN LOAD CASE มีทั้งสิ้นจำนวน 3 LC เอาไว้ก่อนหน้านี้อยู่แล้ว ได้แก่ MLC ที่ 1 เป็น DL MLC ที่ 2 เป็น LL และ MLC ที่ 3 เป็น WL ดังนั้นในเมื่อผมจะทำการกำหนดให้ค่า LOAD FACTOR นั้นเป็นไปตามรูปแบบที่ผมต้องการข้างต้น ผมก็แค่ทำการกระจายการคูณเอาไว้ก่อนเลย เช่น ค่า 0.75 คูณกันกับ 1.4 ก็จะได้ออกมาเท่ากับ 1.05 และ ค่า 0.75 คูณกันกับ 1.7 ก็จะได้ออกมาเท่ากับ 1.275 เป็นต้น หรือหากเพื่อนๆ ไม่ทำตามวิธีการที่ผมเพิ่งทำการแนะนำไป เพื่อนๆ ก็เพียงแค่ทำการคูณค่า 0.75 กับ LOAD CASE ที่ 5 ค่าและคำตอบก็ยังคงจะออกมาเท่าๆ กันอยู่ดี สุดท้ายพอเราเลือกทำการ COMBINE ทุกๆ LOAD CASE เสร็จหมดแล้ว เราก็เพียงแค่กดปุ่ม ADD จากนั้นเราก็ค่อยทำการใส่ ลำดับ และ ชื่อของ COMBINATION LOAD CASE อื่นๆ ต่อไปได้เลยนะครับ

จริงๆ ผมก็ยังอยากที่จะนำเอาเทคนิคต่างๆ ในการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีกระบวนการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีการทางไฟไนต์อีลีเม้นต์ภายในซอฟต์แวร์ STAAD.PRO เอามาแนะนำให้แก่เพื่อนๆ เพิ่มเติมอีกในสัปดาห์ถัดๆ ไปแต่เนื่องจากยังมีเนื้อหาอื่นๆ อีกมากพอดูที่ผมเองก็อยากจะนำเอามาตอบให้แก่เพื่อนๆ ที่ได้ฝากคำถามเข้ามา เอาเป็นว่าหากมีเพื่อนๆ ท่านใดที่สนใจหรืออยากจะเรียนรู้การใช้งานคำสั่งหนึ่งคำสั่งใดที่มีความเกี่ยวกับการใช้งานซอฟต์แวร์ STAAD.PRO เพิ่มเติมอีก ก็ค่อยฝากคำถามเข้ามาได้นะ ผมก็จะขออนุญาตนำเอามาตอบให้แก่เพื่อนๆ ในโอกาสต่อๆ ไปก็แล้วกันนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันศุกร์
#ฝากคำถามแล้วเราจะมาตอบให้
#เทคนิคในการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีกระบวนการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยไฟไนต์อีลีเม้นต์
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam