สาเหตุของการที่ค่าตัวคูณลดกำลัง สำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดในมาตรฐานการออกแบบสมัยใหม่และในอดีตนั้นมีค่าแตกต่างกัน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันศุกร์ (แห่งชาติ) แบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะได้มาพูดคุยและเสวนากันถึงหัวข้อ “ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้” นะครับ

คำถามในวันนี้ยังคงมาจากเพื่อนของผมท่านเดิม ดังนั้นจะมีความต่อเนื่องมาจากคำถามเมื่อในสัปดาห์ที่แล้วนั่นก็คือ หากเพื่อนๆ สังเกตดูในรูปที่ 1 นั่นก็คือ สมการที่ใช้ในการคำนวณหาปริมาณของเหล็กเสริมรับแรงดึงภายในหน้าตัดของโครงสร้างคาน คสล จะพบว่ามี ค่าตัวคูณลดกำลัง หรือ REDUCTION FACTOR ซึ่งก็คือค่า Ø ซึ่งเพื่อนท่านนี้แจ้งมาว่า เวลาที่เพื่อนของผมท่านนี้ทำการออกแบบ เค้ามักที่จะใช้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ในการออกแบบตามมาตรฐานในการออกแบบที่ค่อนข้างที่จะมีความเก่ามาก ซึ่งถ้าผมเดาจากอายุของเพื่อนผมท่านนี้แล้วก็น่าจะต้องย้อนไปที่มาตรฐาน ACI318-89 นู่นนนนนนนนเลยนะครับ

สำหรับค่าตัวคูณลดกำลังในมาตรฐานการออกแบบดังกล่าวนั้นกำหนดให้ใช้ค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดเป็นแบบคงที่ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.90 เพียงค่าเดียวเลย ทั้งนี้เนื่องจากเพื่อนของผมท่านนี้ตั้งใจที่จะทำการอัพเดทตัวเองเสียใหม่ เค้าก็เลยไปเปิดอ่านมาตรฐาน ACI318-14 และพออ่านไปจนถึงตารางที่ 21.2.1 ซึ่งก็คือรูปที่ 2 ในโพสต์ๆ นี้ เพื่อนผมท่านนี้ก็เลยออกอาการงงเล็กน้อย นั่นเป็นเพราะในมาตรฐานดังกล่าวได้ทำการระบุให้เราใช้ค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดเป็นแบบไม่คงที่นั่นก็คือเริ่มตั้งแต่ 0.90 และค่อยๆ ลดลงไปจนถึง 0.65 เลย ซึ่งตรงนี้เองคือประเด็นของคำถามของเพื่อนท่านนี้ว่า เพราะเหตุใดมาตรฐาน ACI318-14 จึงกำหนดให้ใช้ค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดเช่นนั้น?

พอผมได้ยินคำถามๆ นี้ผมก็นั่งเรียบเรียงความคิดอยู่ครู่หนึ่งและก็เลยเริ่มต้นทำการอธิบายให้กับเพื่อนท่านนี้ไปว่า หากดูตารางนี้ให้ดีๆ เราจะพบข้อความห้อยท้ายตามมาด้วยว่า การจะใช้ค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดเป็นแบบไม่คงที่โดยเริ่มตั้งแต่ 0.90 ไปจนถึง 0.65 นั้น โครงสร้างที่เรากำลังพิจารณาอยู่นั้นจะต้องมีสถานะต่างๆ เป็นไปตามข้อความที่ได้มีการระบุเอาไว้ในหัวข้อที่ 21.2.2 ด้วย ซึ่งผมก็ได้เปิดมาตรฐานการออกแบบ ACI318-14 ประกอบคำอธิบายของผมด้วยซึ่งก็น่าที่จะช่วยทำให้เพื่อนท่านนี้เข้าใจได้ดีและมากยิ่งขึ้นซึ่งก็คือรูปที่ 3 ในโพสต์ๆ นี้ ซึ่งนั่นเป็นเพราะว่าในมาตรฐาน ACI318-14 นั้นได้ทำการกำหนดให้วิศวกรผู้ออกแบบมีการใช้งานค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดตามเกณฑ์ของ ค่าหน่วยความเครียดของเหล็กเสริมที่ทำหน้าที่รับแรงดึง และ ค่าความเหนียว หรือ DUCTILITY ของชิ้นส่วนรับแรงดัด ซึ่งก็จะถูกจำแนกผ่านรูปแบบของเหล็กเสริมตามขวางในหน้าตัดของโครงสร้างที่ทำหน้าที่รับแรงดัดนั่นเองครับ

ซึ่งเราสามารถที่จะดูความสัมพันธ์ระหว่างค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดกับค่าหน่วยความเครียดของเหล็กเสริมที่ทำหน้าที่รับแรงดึงและค่าความเหนียวของชิ้นส่วนรับแรงดัดได้จากตารางที่ 21.2.2 ในมาตรฐาน ACI318-14 ซึ่งก็คือรูปที่ 4 ในโพสต์ๆ นี้ก็ได้นะเพราะในตารางนี้จะเป็นการจำแนกแยกย่อยค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดออกตามกรณีของ รูปแบบการวิบัติ และ รูปแบบของเหล็กเสริมตามขวางในหน้าตัด ผมเข้าใจว่าตรงนี้เองที่ทำให้เพื่อนของผมท่านนี้ถึงบางอ้อเสียทีน่ะครับ

ผมยังได้ยกตัวอย่างประกอบคำอธิบายของผมไปด้วยว่า หากกรณีที่รูปแบบการวิบัติของคานนั้นเกิดจาก แรงดึงเป็นตัวควบคุมรูปแบบของการวิบัติ หรือ TENSIONED CONTROL และรูปแบบของเหล็กเสริมตามขวางในหน้าตัดนั้นจะเป็นแบบทั่วๆ ไป หรือเป็นแบบเกลียวก็ได้ สุดท้ายแล้วค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดก็จะยังคงมีค่าเท่ากับ 0.90 ตามที่เพื่อนของผมท่านนี้มีความคุ้นเคยดีอยู่แล้ว ในทางตรงกันข้ามกัน หากกรณีที่รูปแบบการวิบัติของคานนั้นเกิดจาก แรงอัดเป็นตัวควบคุมรูปแบบของการวิบัติ หรือ COMPRESSION CONTROL และรูปแบบของเหล็กเสริมตามขวางในหน้าตัดนั้นจะเป็นแบบทั่วๆ ไป กล่าวคือรูปแบบของเหล็กเสริมตามขวางในหน้าตัดนั้นไม่ได้เป็นแบบเกลียว สุดท้ายแล้วค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดก็จะมีค่าเท่ากับ 0.65 นั่นเองครับ

สาเหตุของความแตกต่างในเรื่องค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดที่มาตรฐานการออกแบบนั้นมีความแตกต่างกันออกไปในลักษณะเช่นนี้เป็นเพราะว่า ACI318-14 ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานการออกแบบที่ถูกร่างขึ้นมาในยุคสมัยใหม่ ซึ่งถือได้ว่าในยุคสมัยดังกล่าวนี้มีการพัฒนาในเรื่องราวต่างๆ ไปอย่างมากมายแล้ว เช่น มีค่ากำลังของวัสดุที่มีความแน่นอนมากยิ่งขึ้น มีเทคโนโลยีในการทำงานวิจัยและการทดลองต่างๆ ที่มีความล้ำหน้ามากกว่าในอดีตค่อนข้างที่จะมากเลย เป็นต้น ดังนั้นมาตรฐานในการออกแบบนี้จึงได้เปิดโอกาสให้ผู้ออกแบบสามารถที่จะทำการออกแบบให้โครงสร้างที่จะต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดนั้นมีรูปแบบของการวิบัติและรูปแบบของเหล็กเสริมตามขวางในหน้าตัดเป็นแบบใดก็ได้เพียงแต่สิ่งที่จะแปรเปลี่ยนไปตามสภาพของโครงสร้างข้างต้นก็คือ ค่าตัวคูณลดกำลังนั่นเองครับ

ทั้งนี้ผมขอทิ้งท้ายไว้ตรงนี้นิดเดียวว่า ก่อนที่เราจะเลือกนำเอามาตรฐานการออกแบบดังกล่าวมาใช้ในงานก่อสร้างที่เกดขึ้นในบ้านเมืองของเราจริงๆ เราก็ควรที่จะต้องดูให้แน่ใจจริงๆ ว่า ทั้งแรงงานและมาตรฐานในงานก่อสร้างของบ้านเมืองเรานั้นมีความทันสมัยเยี่ยงฝรั่งมังค่าที่เป็นผู้คิดค้นมาตรฐานการออกแบบนี้ด้วยหรือไม่เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว การจะทำการออกแบบโดยอ้างอิงไปที่มาตรฐานการออกแบบดังกล่าวนี้ก็อาจจะทำให้เกิดความประหยัดที่มากยิ่งขึ้นก็จริงนะแต่ในทางกลับกันก็จะมีความเป็นไปได้ในระดับที่สูงมากๆ ที่จะทำให้โครงสร้างของเรานั้นขาดความปลอดภัยในการใช้งานไปด้วยน่ะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันศุกร์
#ฝากคำถามแล้วเราจะมาตอบให้
#สาเหตุของการที่ค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดในมาตรฐานการออกแบบสมัยใหม่และในอดีตนั้นมีค่าแตกต่างกัน
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam