บทความการตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile ไมโครไพล์ Micropile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ หรือเข็มไอ I-Micropile เสาเข็มเพื่อการต่อเติม เสริมฐานราก และงานสร้างใหม่ ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015 ภายใต้การรับรองระบบงานของ UKAS และ NAC และมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม (The Provision of Pile Driving Service)

คอนกรีตทนน้ำเค็ม

เพราะเหตุใด?? เสาเข็มไมโครไพล์ ของภูมิสยามจึงจะต้องอาศัยกระบวนการในการหล่อคอนกรีตโดยการให้แรงเหวี่ยง

หลักการพื้นฐานของการตอกเสาเข็มคือ การทำให้ “พลังงาน” หรือ “ENERGY” แก่โครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการ “ตอก” เสาเข็มลงไปในดิน ซึ่ง “ปริมาณ” ของพลังงานที่จะทำการใส่ลงไปในดินนั้นจะมีค่าที่ มาก หรือ น้อย ก็จะขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น ขนาดและความยาวของเสาเข็มที่ต้องการจะใช้ กำลังความสามารถของเสาเข็มที่ต้องการที่จะให้รับน้ำหนัก ความหลวมหรือแน่นตัวของดินที่จะทำการตอกเสาเข็ม เป็นต้น

ดังนั้นเมื่อดูจากหลักการพื้นฐานที่ได้กล่าวข้างต้นในเรื่องของพลังงาน ก็จะพบว่าค่าพลังงานที่จะได้จากการตอกเสาเข็ม 1 ครั้งนั้นจะเกิดจากการที่สามเทอมหลักๆ นั้นคูณกันออกมา นั่นก็คือ เทอมค่าการสูญเสียพลังงานจากปัจจัยต่างๆ ในการตอกเสาเข็ม เทอมน้ำหนักของตัวตุ้ม และ เทอมระยะยกของตัวตุ่มที่ใช้ในการตอก หรือเขียนง่ายๆ ได้ว่าค่าของพลังงานที่จะได้รับจากการตอกเสาเข็ม 1 ครั้งนั้นจะมีค่าเท่ากับ E = e W H

สุดท้ายแล้วค่าผลรวมของพลังงานที่จะต้องใช้ในการตอกเสาเข็ม 1 ต้นนั้นก็จะมีค่าเท่ากับ ∑E = N E

ค่า E ก็คือเทอมของค่าพลังงานที่ได้จากการตอกเสาเข็มจำนวน 1 ครั้ง
ค่า e ก็คือ เทอมค่าการสูญเสียพลังงานจากปัจจัยต่างๆ ในการตอกเสาเข็ม
ค่า W ก็คือ เทอมน้ำหนักของตัวตุ้มที่ใช้ในการตอกเสาเข็ม
ค่า H ก็คือ เทอมระยะยกของตัวตุ้มที่ใช้ในการตอกเสาเข็ม
ค่า N ก็คือ จำนวนครั้งทั้งหมดที่เราใช้ในการตอกเสาเข็มจำนวน 1 ต้น
ค่า ∑E ก็คือเทอมของค่าพลังงานทั้งหมดที่ได้จากการตอกเสาเข็มจำนวน 1 ต้น

สำหรับขั้นตอนการก่อสร้าง และการนำเสาเข็มไมโครไพล์ลงไปในดินนั้น จะอาศัยกระบวนการในการ “ตอก” เสาเข็มเช่นเดียวกันกับที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น ทั้งนี้ความแตกต่างระหว่างการก่อสร้างด้วยเสาเข็มระบบปกติกับระบบเสาเข็มไมโครไพล์ก็คือ จะอาศัยปั้นจั่นที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดปั้นจั่นปกติเพราะฉะนั้นเมื่อ W ที่ใช้ในการตอกเสาเข็มไมโครไพล์นั้นจะมีขนาดที่น้อยกว่าเสาเข็มปกติเพราะฉะนั้นหากให้ค่า Wnp คือค่า น้ำหนักของตุ้มของเสาเข็มปกติและให้ค่า Wmp คือค่า น้ำหนักของตุ้มของเสาเข็มไมโครไพล์ เราก็อาจจะเขียนสรุปได้ง่ายๆ ว่า

Wmp <<< Wnp

จากสมการนี้ก็จะสื่อความหมายออกมาได้ว่า เพื่อให้ผลรวมของค่าพลังงานนั้นยังคงออกมาเทียบเท่ากันเราจะต้องอาศัยจำนวนครั้งหรือค่า N ในการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ที่มากกว่าเสาเข็มปกติ เพราะฉะนั้นหากให้ค่า Nnp คือค่า จำนวนครั้งในการตอกของตุ้มของเสาเข็มปกติและให้ค่า Nmp คือค่า จำนวนครั้งในการตอกของตุ้มของเสาเข็มไมโครไพล์ เราก็อาจจะเขียนสรุปได้ง่ายๆ เช่นกันว่า

Nmp >>> Nnp

ส่วนค่า Nmp นั้นจะมีค่าที่มากกว่า Nnp มากหรือน้อยเพียงใดนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างเช่นกัน เช่น ระยะที่ใช้ในการยกปั้นจั่นในการตอกเสาเข็ม อุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจจะใช้ประกอบในการตอกเสาเข็ม เป็นต้น ดังนั้นเมื่อโครงสร้างเสาเข็มไมโครไพล์จำเป็นที่จะต้องได้รับจำนวนครั้งในการตอกที่มากกว่าเสาเข็มทั่วๆไป หากว่าโครงสร้างเสาเข็มไมโครไพล์ไม่มีความแข็งแกร่งที่มากเพียงพอ นั่นก็จะอาจจะส่งผลทำให้เสาเข็มนั้นได้รับความบอบช้ำหรือเสียหายจากการถูกตอกแบบซ้ำไปซ้ำมาด้วยจำนวนของการตอกที่มากกว่าเสาเข็มปกติได้นั่นเอง

นี่เองคือเหตุผลหลักๆ เลยว่าเพราะเหตุใดเสาเข็มไมโครไพล์ของภูมิสยามจึงอาศัยกระบวนการในการ “สปัน” หรือ การทำให้เกิด “แรงเหวี่ยง” ในขณะที่ทำการหล่อคอนกรีตเพราะว่าในขั้นตอนนี้จะเป็นการเสริมสร้างทำให้เสาเข็มไมโครไพล์นั้นมีความแข็งแกร่งมากกว่าเสาเข็มที่หล่อด้วยขั้นตอนของการเทตามปกติ

Miss Spunpile 

Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam

#ไมโครไพล์ #เสาเข็มไมโครไพล์ #Micropile

ประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

ตอนนี้เรากำลังพูดถึงเรื่องงาน โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL กันอยู่และหลังจากที่ก่อนหน้านี้ผมได้พูดถึงหลายๆ เรื่องที่มีความเกี่ยวพันกันกับโครงสร้างเหล็กรูปพรรณไปแล้ว เช่น โครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL BEAM โครงสร้างหลังคายื่น หรือ CANOPY ROOF STRUCTURE เป็นต้น และเพื่อให้ต่อเนื่องจากในสัปดาห์ที่แล้วซึ่งผมได้พูดถึงเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับงานโครงสร้างเหล็กรูปพรรณนั่นก็คือ โครงสร้างพื้น หรือ FLOOR STRUCTURE ที่เรามักจะนำมาใช้ในงานโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ดังนั้นในวันนี้ผมจะมาอธิบายถึง โครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ หรือ STRUCTURAL CONCRETE CAST-IN-PLACE SLAB นั่นเองครับ

ซึ่งหากเพื่อนๆ ติดตามโพสต์ของผมในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ผ่านมาก็น่าจะทราบกันไปแล้วว่าการใช้งานโครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่นั้นแทบจะเหมือนกันกับการเลือกใช้งานโครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป หรือ STRUCTURAL CONCRETE PRE-CAST SLAB เลยแต่ก็จะมีความแตกต่างหลักๆ ระหว่างพื้นทั้ง 2 ระบบนี้ก็คือ โครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป นั้นจะทำการก่อสร้างได้ยากกว่า โครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ มากๆ เนื่องด้วยการก่อสร้างพื้นห้องน้ำจะต้องทำการเจาะและฝัง SLEEVE งานท่อต่างๆ ของงานวิศวกรรมระบบสุขาภิบาล ซึ่งหากเราเลือกใช้งานพื้นเป็น โครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป พื้นชนิดนี้จะทำการเจาะและฝัง SLEEVE ได้ยากมากๆ เพราะจะมีผลต่อเรื่องต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย เช่น มีผลต่อเรื่องความแข็งแรงเพราะไม่ว่าเราจะเลือกใช้งานพื้นให้เป็น โครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดตัน หรือ SOLID PLANK SLAB หรือจะเป็น โครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดกลวง หรือ HOLLOW CORE SLAB ก็ตาม เวลาที่ทำการเจาะพื้นชนิดนี้ก็จะมีโอกาสที่จะต้องเจอกับ ลวดอัดแรง หรือ PRESTRESSING WIRES ที่อยู่ภายในแผ่นพื้นนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งวิธีการทำงานที่ควรจะทำก็คือ ทำเป็นช่องเปิด เพื่อที่จะใช้เป็นช่อง SHARP เพื่อที่จะใช้เดินงานระบบโดยเฉพาะเลย ซึ่งต่อให้ทำตามวิธีการดังกล่าว พื้นระบบนี้ก็ยังต้องทำการติดตั้งด้วยระบบกันซึมเป็นอย่างดีอีกด้วยจึงจะสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี ซึ่งนี่ยังไม่ได้ทำการนับรวมผลจากการที่เราต้องคอยดูแลรักษาพื้นชนิดนี้ต่อไปในอนาคต เป็นต้นนะครับ

ถึงแม้ว่าโครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่นั้นจะมีการก่อสร้างด้วยกรรมวิธีการวางเหล็กเสริม ทำการตั้งแบบท้องและแบบข้างแล้วก็ค่อยทำการเทคอนกรีตแต่อย่างไรก็ดีพื้นชนิดดังกล่าวก็ยังคงคุณสมบัติเหมือนกันกับโครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอยู่นั่นก็คือมันจะมีพฤติกรรมของโครงสร้างของพื้นชนิดนี้จะมีชื่อเฉพาะที่ใช้ในการเรียกว่า หน้าตัดที่อาศัยวัสดุผสม หรือ COMPOSITE SECTION แต่จะมีความแตกต่างตรงที่จะมีการผสมผสานกันระหว่างวัสดุเพียงแค่ 2 อย่างซึ่งก็จะได้แก่ เหล็กเสริมหลักและเหล็กเสริมต้านทานการหดตัว และ คอนกรีตที่หน้างาน ดังนั้นหากพูดถึงการเปรียบเทียบกันกับโครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปในเรื่องของการที่หน้าตัดโครงสร้างของเรานั้นจะมีความไม่เป็นเนื้อเดียวกันอย่างสมบูรณ์ หรือ NON-HOMOGENEOUS SECTION พื้นชนิดนี้ก็จะมีคุณสมบัติดังกล่าวที่ถือได้ว่าดีกว่า พูดง่ายๆ ก็คือมีความสมบูรณ์ที่มากกว่า ดังนั้นเราอาจจะอาศัยโครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปให้เป็นพื้นที่ต้องสัมผัสกับน้ำเกือบจะตลอดเวลาได้ เช่น โครงสร้างพื้นสำหรับห้องน้ำ โครงสร้างพื้นสำหรับระเบียง โครงสร้างพื้นสำหรับซักล้าง โครงสร้างพื้นสำหรับชั้นดาดฟ้า เป็นต้น อย่างไรก็ดีหากเพื่อนๆ ไม่ต้องการที่จะประสบพบเจอกับปัญหาเรื่องของการที่น้ำนั้นเกิดการรั่วและซึมเลย เพื่อนๆ ก็ควรที่จะต้องทำงานในขั้นตอนกันซึมให้แก่โครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่อยู่ดีนะครับ

สืบเนื่องจากการที่พื้นชนิดนี้จะมีคุณสมบัติทางด้านความเป็นเนื้อเดียวกันที่ดีกว่าโครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปและเรายังจะสามารถเลือกกำหนดให้พื้นชนิดนี้มีรายละเอียดของเหล็กเสริมที่อยู่ภายในแผ่นพื้นได้รวมถึงขนาดของความหนาที่มากกว่าพื้นชนิดอื่นๆ ได้ ดังนั้นเราจะสามารถนำผลของค่าความแข็งเกร็งทางด้านข้าง หรือ LATERAL STIFFNESS ของโครงสร้างพื้นชนิดนี้มาใช้ในการออกแบบอาคารให้มีคุณลักษณะของ DIAPHRAGM ได้โดยที่มักจะไม่ค่อยพบเจอกับปัญหาใดๆ ในเรื่องนี้มากมายนักนะครับ

ประเด็นทิ้งท้ายประเด็นสุดท้ายที่ผมอยากจะขอหยิบยกนำเอาอธิบายพอสังเขปสำหรับโครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ก็ยังคงคล้ายๆ กันกับในครั้งที่แล้วที่ผมพูดถึงเรื่องโครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปนั่นก็คือ ในเมื่อโครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ของเรานั้นถูกก่อสร้างขึ้นด้วยหน้าตัดที่อาศัยวัสดุผสม ดังนั้นเวลาที่โครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่นั้นวางตัวลงไปบนคานเหล็กรูปพรรณซึ่งแน่นอนว่าเป็นวัสดุคนละชนิดกันกับตัวแผ่นพื้น เราจึงควรที่จะพิจารณาทำการออกแบบและก่อสร้างให้ทั้งสองวัสดุนี้มีพฤติกรรมความสอดคล้องซึ่งกันและกันให้มากที่สุดเท่าที่จะมีความเป็นไปได้ เช่น พอหน้าตัดนั้นถูกผสมให้เข้ากันแล้วในตัวโครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ก็จะเกิดแรงเค้นเฉือนตามแนวระนาบขึ้น ดังนั้นเราจะต้องพิจารณาทำการออกแบบให้มีเหล็กเสริมที่จะมาทำหน้าที่ในการถ่ายเทแรงเค้นเฉือนนี้ไปยังคานเหล็กรูปพรรณไปให้ได้ มิเช่นนั้นโครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ของเราก็มีโอกาสที่จะเกิดการแยกส่วนกันกับโครงสร้างเหล็กรูปพรรณก็เป็นได้ เป็นต้น ซึ่งจริงๆ แล้วหากจะให้ทำการอธิบายถึงเรื่องรายละเอียดต่างๆ ในทุกๆ ส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกันกับโครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปนี้ก็ยังคงมีอีกมากเลย เอาเป็นว่าผมขออนุญาตนำเอามาอธิบายใหม่ในการโพสต์ครั้งต่อๆ ไปซึ่งอาจจะเป็นโพสต์ที่เกี่ยวข้องกันกับโครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่โดยเฉพาะเลยก็แล้วกันนะครับ

ในสัปดาห์หน้าผมจะนำเอาเรื่องพื้นประเภทใดมาอธิบายต่อเพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนได้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องประเภทของพื้นที่มีการใช้งานในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณก็สามารถที่จะติดตามรับชมและอ่านบทความของผมกันได้ในสัปดาห์หน้านะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#ความรู้เรื่องโครงสร้างพื้นที่มีการใช้งานในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
#ครั้งที่4
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)

1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น

2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น

เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น

5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com

สาเหตุของการที่ค่าตัวคูณลดกำลัง สำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดในมาตรฐานการออกแบบสมัยใหม่และในอดีตนั้นมีค่าแตกต่างกัน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันศุกร์ (แห่งชาติ) แบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะได้มาพูดคุยและเสวนากันถึงหัวข้อ “ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้” นะครับ

คำถามในวันนี้ยังคงมาจากเพื่อนของผมท่านเดิม ดังนั้นจะมีความต่อเนื่องมาจากคำถามเมื่อในสัปดาห์ที่แล้วนั่นก็คือ หากเพื่อนๆ สังเกตดูในรูปที่ 1 นั่นก็คือ สมการที่ใช้ในการคำนวณหาปริมาณของเหล็กเสริมรับแรงดึงภายในหน้าตัดของโครงสร้างคาน คสล จะพบว่ามี ค่าตัวคูณลดกำลัง หรือ REDUCTION FACTOR ซึ่งก็คือค่า Ø ซึ่งเพื่อนท่านนี้แจ้งมาว่า เวลาที่เพื่อนของผมท่านนี้ทำการออกแบบ เค้ามักที่จะใช้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ในการออกแบบตามมาตรฐานในการออกแบบที่ค่อนข้างที่จะมีความเก่ามาก ซึ่งถ้าผมเดาจากอายุของเพื่อนผมท่านนี้แล้วก็น่าจะต้องย้อนไปที่มาตรฐาน ACI318-89 นู่นนนนนนนนเลยนะครับ

สำหรับค่าตัวคูณลดกำลังในมาตรฐานการออกแบบดังกล่าวนั้นกำหนดให้ใช้ค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดเป็นแบบคงที่ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.90 เพียงค่าเดียวเลย ทั้งนี้เนื่องจากเพื่อนของผมท่านนี้ตั้งใจที่จะทำการอัพเดทตัวเองเสียใหม่ เค้าก็เลยไปเปิดอ่านมาตรฐาน ACI318-14 และพออ่านไปจนถึงตารางที่ 21.2.1 ซึ่งก็คือรูปที่ 2 ในโพสต์ๆ นี้ เพื่อนผมท่านนี้ก็เลยออกอาการงงเล็กน้อย นั่นเป็นเพราะในมาตรฐานดังกล่าวได้ทำการระบุให้เราใช้ค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดเป็นแบบไม่คงที่นั่นก็คือเริ่มตั้งแต่ 0.90 และค่อยๆ ลดลงไปจนถึง 0.65 เลย ซึ่งตรงนี้เองคือประเด็นของคำถามของเพื่อนท่านนี้ว่า เพราะเหตุใดมาตรฐาน ACI318-14 จึงกำหนดให้ใช้ค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดเช่นนั้น?

พอผมได้ยินคำถามๆ นี้ผมก็นั่งเรียบเรียงความคิดอยู่ครู่หนึ่งและก็เลยเริ่มต้นทำการอธิบายให้กับเพื่อนท่านนี้ไปว่า หากดูตารางนี้ให้ดีๆ เราจะพบข้อความห้อยท้ายตามมาด้วยว่า การจะใช้ค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดเป็นแบบไม่คงที่โดยเริ่มตั้งแต่ 0.90 ไปจนถึง 0.65 นั้น โครงสร้างที่เรากำลังพิจารณาอยู่นั้นจะต้องมีสถานะต่างๆ เป็นไปตามข้อความที่ได้มีการระบุเอาไว้ในหัวข้อที่ 21.2.2 ด้วย ซึ่งผมก็ได้เปิดมาตรฐานการออกแบบ ACI318-14 ประกอบคำอธิบายของผมด้วยซึ่งก็น่าที่จะช่วยทำให้เพื่อนท่านนี้เข้าใจได้ดีและมากยิ่งขึ้นซึ่งก็คือรูปที่ 3 ในโพสต์ๆ นี้ ซึ่งนั่นเป็นเพราะว่าในมาตรฐาน ACI318-14 นั้นได้ทำการกำหนดให้วิศวกรผู้ออกแบบมีการใช้งานค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดตามเกณฑ์ของ ค่าหน่วยความเครียดของเหล็กเสริมที่ทำหน้าที่รับแรงดึง และ ค่าความเหนียว หรือ DUCTILITY ของชิ้นส่วนรับแรงดัด ซึ่งก็จะถูกจำแนกผ่านรูปแบบของเหล็กเสริมตามขวางในหน้าตัดของโครงสร้างที่ทำหน้าที่รับแรงดัดนั่นเองครับ

ซึ่งเราสามารถที่จะดูความสัมพันธ์ระหว่างค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดกับค่าหน่วยความเครียดของเหล็กเสริมที่ทำหน้าที่รับแรงดึงและค่าความเหนียวของชิ้นส่วนรับแรงดัดได้จากตารางที่ 21.2.2 ในมาตรฐาน ACI318-14 ซึ่งก็คือรูปที่ 4 ในโพสต์ๆ นี้ก็ได้นะเพราะในตารางนี้จะเป็นการจำแนกแยกย่อยค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดออกตามกรณีของ รูปแบบการวิบัติ และ รูปแบบของเหล็กเสริมตามขวางในหน้าตัด ผมเข้าใจว่าตรงนี้เองที่ทำให้เพื่อนของผมท่านนี้ถึงบางอ้อเสียทีน่ะครับ

ผมยังได้ยกตัวอย่างประกอบคำอธิบายของผมไปด้วยว่า หากกรณีที่รูปแบบการวิบัติของคานนั้นเกิดจาก แรงดึงเป็นตัวควบคุมรูปแบบของการวิบัติ หรือ TENSIONED CONTROL และรูปแบบของเหล็กเสริมตามขวางในหน้าตัดนั้นจะเป็นแบบทั่วๆ ไป หรือเป็นแบบเกลียวก็ได้ สุดท้ายแล้วค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดก็จะยังคงมีค่าเท่ากับ 0.90 ตามที่เพื่อนของผมท่านนี้มีความคุ้นเคยดีอยู่แล้ว ในทางตรงกันข้ามกัน หากกรณีที่รูปแบบการวิบัติของคานนั้นเกิดจาก แรงอัดเป็นตัวควบคุมรูปแบบของการวิบัติ หรือ COMPRESSION CONTROL และรูปแบบของเหล็กเสริมตามขวางในหน้าตัดนั้นจะเป็นแบบทั่วๆ ไป กล่าวคือรูปแบบของเหล็กเสริมตามขวางในหน้าตัดนั้นไม่ได้เป็นแบบเกลียว สุดท้ายแล้วค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดก็จะมีค่าเท่ากับ 0.65 นั่นเองครับ

สาเหตุของความแตกต่างในเรื่องค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดที่มาตรฐานการออกแบบนั้นมีความแตกต่างกันออกไปในลักษณะเช่นนี้เป็นเพราะว่า ACI318-14 ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานการออกแบบที่ถูกร่างขึ้นมาในยุคสมัยใหม่ ซึ่งถือได้ว่าในยุคสมัยดังกล่าวนี้มีการพัฒนาในเรื่องราวต่างๆ ไปอย่างมากมายแล้ว เช่น มีค่ากำลังของวัสดุที่มีความแน่นอนมากยิ่งขึ้น มีเทคโนโลยีในการทำงานวิจัยและการทดลองต่างๆ ที่มีความล้ำหน้ามากกว่าในอดีตค่อนข้างที่จะมากเลย เป็นต้น ดังนั้นมาตรฐานในการออกแบบนี้จึงได้เปิดโอกาสให้ผู้ออกแบบสามารถที่จะทำการออกแบบให้โครงสร้างที่จะต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดนั้นมีรูปแบบของการวิบัติและรูปแบบของเหล็กเสริมตามขวางในหน้าตัดเป็นแบบใดก็ได้เพียงแต่สิ่งที่จะแปรเปลี่ยนไปตามสภาพของโครงสร้างข้างต้นก็คือ ค่าตัวคูณลดกำลังนั่นเองครับ

ทั้งนี้ผมขอทิ้งท้ายไว้ตรงนี้นิดเดียวว่า ก่อนที่เราจะเลือกนำเอามาตรฐานการออกแบบดังกล่าวมาใช้ในงานก่อสร้างที่เกดขึ้นในบ้านเมืองของเราจริงๆ เราก็ควรที่จะต้องดูให้แน่ใจจริงๆ ว่า ทั้งแรงงานและมาตรฐานในงานก่อสร้างของบ้านเมืองเรานั้นมีความทันสมัยเยี่ยงฝรั่งมังค่าที่เป็นผู้คิดค้นมาตรฐานการออกแบบนี้ด้วยหรือไม่เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว การจะทำการออกแบบโดยอ้างอิงไปที่มาตรฐานการออกแบบดังกล่าวนี้ก็อาจจะทำให้เกิดความประหยัดที่มากยิ่งขึ้นก็จริงนะแต่ในทางกลับกันก็จะมีความเป็นไปได้ในระดับที่สูงมากๆ ที่จะทำให้โครงสร้างของเรานั้นขาดความปลอดภัยในการใช้งานไปด้วยน่ะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันศุกร์
#ฝากคำถามแล้วเราจะมาตอบให้
#สาเหตุของการที่ค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดในมาตรฐานการออกแบบสมัยใหม่และในอดีตนั้นมีค่าแตกต่างกัน
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam

ภูมิสยาม จับมือกับกรุงเทพประกันภัย ประกันความเสียหายระหว่างการตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ Spun Micropile

ภูมิสยาม รับประกันผลงานนานถึง 7 ปี พร้อมจับมือกับกรุงเทพประกันภัย ประกันความเสียหายระหว่างการตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ Spun Micropile

ประกันผลงานนานถึง 7 ปี จากการให้บริการตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ โดยประกันคุ้มครองความเสียหายจากการรับน้ำหนักของเสาเข็มตามที่วิศวกรออกแบบและคำนวณไว้ตามหลักวิศวกรรม ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นจากการที่เสาเข็มไม่สามารถรับน้ำหนักตามที่วิศวกรได้คำนวณไว้ บริษัทฯ ยินดีทำการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดตามความเสียหายที่แท้จริง ทั้งนี้ไม่เกินมูลค่าตามที่ในระบุในสัญญาว่าจ้าง (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯกำหนด)

และภูมิสยามฯจับมือกับกรุงเทพประกันภัย เสนอประกันความคุ้มครองระหว่างการตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micropile ลูกค้าสามารถซื้อประกันเพื่อความคุ้มครองความเสียหายกับทรัพย์สินตัวเองและเพื่อนบ้าน ไม่ต้องกังวลอีกต่อไปกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ก่อสร้าง บ้านของเพื่อนบ้าน โครงสร้างอาคาร รวมถึงความคุ้มครองต่อร่างกายอันเกิดแก่บุคคลภายนอกโดยอุบัติเหตุ โดยให้ความคุ้มครองสูงถึง 500,000 บาท (เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด)

เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. 397-2524 โดย ภูมิสยาม Bhumisiam มีความแข็งแกร่งสูง จากการสปันแท้ https://youtu.be/EXdkwU_q0_I การตอกได้มาตรฐาน ISO 9001:2015 เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ https://youtu.be/iJr3dLtYAuA หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

Miss Spunpile 

Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam

ที่มาและความสำคัญ ของสมการในการคำนวณหาระยะความลึกประสิทธิผลน้อยที่สุด ในหน้าตัดโครงสร้างคานรับแรงดัด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

ผมมีคำถามเข้ามาจากแฟนเพจที่เป็นน้องวิศวกรซึ่งเป็นผู้หญิงท่านหนึ่งเกี่ยวกับสมการที่ใช้ในการตรวจสอบหาว่า ระยะความลึกประสิทธิผลน้อยที่สุด หรือค่า EFFECTIVE DEPTH ซึ่งเรามักจะแทนค่าด้วยตัวย่อว่า dmin ที่หน้าตัดของโครงสร้างคานรับแรงดัดของเรานั้นมีความต้องการนั้นมีที่มาที่ไปของสมการคำนวณจากอะไร ซึ่งผมก็ได้ตอบไปในทันทีเลยว่า ก็มาจากสมการที่ใช้ในการคำนวณหาค่าอัตราส่วนของเหล็กเสริมรับแรงดึงหรือสมการที่ใช้ในการคำนวณหาค่าปริมาณของเหล็กเสริมรับแรงดึงนั่นแหละ ผมเลยคิดว่าจะเอาคำตอบที่ผมได้ตอบน้องท่านนี้เอามาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ ด้วยก็น่าที่จะเป็นการดีนะครับ

ก่อนอื่นเรามาดูหน้าตาของเจ้าสมการที่เราใช้ในการคำนวณหาค่า dmin กันก่อน ซึ่งก็จะมีหน้าตาของสมการดังต่อไปนี้นะครับ
dmin = √[2×m×Mu/(Ø×b×fy)]

ซึ่งหากเพื่อนๆ ได้เห็นหน้าตาของเจ้าสมการๆ นี้แล้ว ไม่ทราบว่ามีใครพอที่จะมีความคุ้นหน้าคุ้นตาเจ้าสมการตัวนี้บ้างหรือไม่ครับ ?
ผมเฉลยเลยก็แล้วกันนะ สมการนี้ก็มาจากสมการที่ใช้ในการคำนวณหาค่าอัตราส่วนของเหล็กเสริมรับแรงดึงหรือสมการที่ใช้ในการคำนวณหาค่าปริมาณของเหล็กเสริมรับแรงดึงตามที่ผมได้แจ้งไปข้างต้น ซึ่งหน้าตาของสมการที่ใช้ในการคำนวณหาค่าปริมาณของเหล็กเสริมรับแรงดึงนั้นเป็นดังต่อไปนี้
As,req’d = b×d/m×{ 1 − √[1 − 2×m×Mu/(Ø×b×d^(2)×fy)] }

ซึ่งหากเพื่อนๆ ลองสังเกตดูพจน์ในวงเล็บให้ดีๆ ก็จะพบว่า สมการนี้จะมีค่าเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อ ผลจากการลบกันระหว่างค่า 1.00 กับพจน์ท้ายสุดนั้นต้องมีค่าเป็น “บวก” หรืออย่างน้อยที่สุดก็คือต้องมีค่าเท่ากับ “0” พูดง่ายๆ ก็คือ ผลจากการคูณและหารกันของพจน์ท้ายสุดนั้นจะต้องมีค่าที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.00 นั่นเอง ดังนั้นหากผมแทนค่าให้สมการเป็นตามที่ว่าก็จะได้
1 − 2×m×Mu/[Ø×b×d^(2)×fy] ≥ 0
1 = 2×m×Mu/[Ø×b×d^(2)×fy] d^(2) = 2×m×Mu/(Ø×b×fy)
d = √[2×m×Mu/(Ø×b×fy)] → dmin

ซึ่งจะเห็นได้ว่าสมการข้างต้นนี้จะเป็นสมการที่ใช้ในการคำนวณเพื่อเป็นการตรวจสอบและยืนยันกับเราว่า ค่าระยะความลึกประสิทธิผลน้อยที่สุดที่หน้าตัดของเรานั้นมีต้องการจะมีค่าเท่ากับเท่าใด หากว่าหน้าตัดของโครงสร้างคานรับแรงดัดของเรานั้นมีค่าระยะความลึกประสิทธิผลจริงน้อยกว่าค่าดังกล่าว นั่นก็แสดงว่าเราจะต้องทำการเพิ่มขนาดของความลึกประสิทธิผลของหน้าตัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยแต่หากผลจากการคำนวณนั้นยืนยันออกมาแล้วว่า ค่าระยะความลึกประสิทธิผลที่เราใช้นั้นออกมามีค่าที่น้อยกว่าค่าระยะความลึกประสิทธิผลน้อยที่สุดที่คำนวณได้จากสมการข้างต้นและเราไม่ได้ทำการเพิ่มค่าๆ นี้ให้มากขึ้น พูดง่ายๆ ก็คือ เรายังฝืนที่จะใช้ค่าระยะความลึกประสิทธิผลนี้ นั่นก็หมายความว่าหน้าตัดของเราจะไม่มีความปลอดภัยต่อการรับแรงดัด กล่าวคือหน้าตัดของเราจะไม่มีกำลังเพียงพอที่จะใช้ในการต้านทานแรงดัดที่เกิดขึ้นนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันจันทร์
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#ที่มาและความสำคัญของสมการในการคำนวณหาระยะความลึกประสิทธิผลน้อยที่สุดในหน้าตัดโครงสร้างคานรับแรงดัด
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam

ฝากคำถามแล้วเราจะมาตอบให้ สมการในการตรวจสอบตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงของกลุ่มโครงสร้างเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันศุกร์ (แห่งชาติ) แบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะได้มาพูดคุยและเสวนากันถึงหัวข้อ “ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้” นะครับ

สืบเนื่องมาจากเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาซึ่งผมได้ทำการอธิบายถึงเรื่อง การแก้ไขโครงสร้างฐานรากที่ใช้เสาเข็มโดยการเพิ่มจำนวนของโครงสร้างเสาเข็มเข้าไป ซึ่งผมได้อธิบายไว้ว่า หลักการที่ง่ายที่สุดในการเพิ่มคือ ให้ทำการเพิ่มจำนวนของเสาเข็มให้อยู่ตรงกันกับตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงของโครงสร้างฐานราก หรือ หากทำเช่นนั้นไม่ได้ก็ให้ทำการตรวจสอบว่าตำแหน่งในการโครงสร้างเสาเข็มนั้นทำให้จุดศูนย์ถ่วงของกลุ่มโครงสร้างเสาเข็มให้ตรงกันกับตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงของโครงสร้างฐานรากน่ะครับ


ซึ่งในวันนั้นผมเองก็ได้ให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ ไว้ด้วยว่า สมการในการตรวจสอบตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงของกลุ่มโครงสร้างเสาเข็มนั้นก็คือสมการ
Yb = ∑Ai×yi / ∑Ai

ซึ่งสมการข้างต้นเป็นสมการพื้นฐานที่เพื่อนๆ แฟนเพจที่เป็นวิศวกรน่าที่จะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วเพราะเราต้องใช้สมการๆ นี้ในการคำนวณหลายๆ เรื่องเลย เช่น ในการคำนวณทางด้านกลศาสตร์ของโครงสร้าง หรือ STRUCTURAL MECHANICS หรือ ในการคำนวณทางด้านงานออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ RC STRUCTURAL DESIGN เป็นต้น แต่ทั้งนี้เพื่อเป็นการทบทวนความจำแก่เพื่อนๆ วันนี้ผมจึงจะขออนุญาตมาทวนและยกตัวอย่างถึงวิธีการใช้งานสมการๆ นี้ให้ก็แล้วกันนะครับ
ค่า Yb ก็คือ ตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงของโครงสร้างที่เรากำลังพิจารณา โดยที่ค่าๆ นี้จะอยู่ในทางทิศทางใด ก็จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เราใช้ในการอ้างอิงเป็นหลัก ค่า Ai ก็คือ ขนาดของพื้นที่หน้าตัดของชิ้นส่วนโครงสร้างที่เรากำลังพิจารณา และ ค่า yi ก็คือ ตำแหน่งของชิ้นส่วนโครงสร้างที่เรากำลังพิจารณา โดยที่ค่าๆ นี้จะอยู่ในทางทิศทางใด ก็จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เราใช้ในการอ้างอิงเป็นหลัก ซึ่งผมต้องขอเน้นไว้ตรงนี้เลยว่า จากสมการๆ นี้จะสามารถใช้ได้สำหรับกรณีที่ชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นมีความแข็งแรงของวัสดุที่เท่าๆ กันเท่านั้น เอาละเพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เรามาดูตัวอย่างง่ายๆ ประกอบคำอธิบายของผมเลยก็แล้วกันนะครับ

ผมทำตัวอย่างขึ้นมา 2 ตัวอย่าง โดยที่เป็นตัวอย่างของการจัดเหล็กเสริมในหน้าตัดโครงสร้างคาน คสล รับแรงดัด โดยที่ในกรณีที่ 1 จะเป็นการวางเหล็กเสริมแบบสมมาตร ซึ่งพอผลจากการคำนวณออกมาเพื่อนๆ ก็จะเห็นได้ว่าตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงของกลุ่มเหล็กเสริมนั้นจะอยู่ที่ตรงกึ่งกลางแบบพอดิบพอดีเลย สำหรับกรณีที่ 2 จะเป็นการวางเหล็กเสริมแบบไม่สมมาตร ซึ่งพอผลจากการคำนวณออกมาเพื่อนๆ ก็จะเห็นได้ว่าตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงของกลุ่มเหล็กเสริมนั้นจะไม่ได้อยู่ที่ตรงกึ่งกลางเหมือนในกรณีที่ 1 แล้วน่ะครับ

เรามาเริ่มต้นจากกรณีที่ 1 ก่อนก็แล้วกัน ซึ่งผมจะทำการคำนวณหาค่า Ai ก่อน ซึ่งสำหรับกรณีนี้จะมีค่า Ai ทั้งหมด 2 ค่า นั่นก็คือ A1 สำหรับเหล็กข้ออ้อยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 2.01 ตร.ซม และ A2 สำหรับเหล็กข้ออ้อยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 4.91 ตร.ซม นะครับ

ค่าต่อมาก็คือ yi บ้าง ซึ่งสำหรับกรณีนี้จะมีค่า yi ทั้งหมด 4 ค่านั่นก็คือ สำหรับเหล็กในแถวบน 2 ค่า และเหล็กในแถวล่างอีก 2 ค่า ผมจะเริ่มจากเหล็กแถวล่างก่อนนะ นั่นก็คือ สำหรับเหล็กข้ออ้อยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 8 มม และสำหรับเหล็กข้ออ้อยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 12.5 มม ต่อมาก็คือ เหล็กแถวบน นั่นก็คือ สำหรับเหล็กข้ออ้อยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 72 มม และสำหรับเหล็กข้ออ้อยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 67.5 มม ดังนั้นหากเราทำการแทนค่าต่างๆ ที่หาเอาไว้ข้างต้นเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่า Yb สำหรับกรณีที่ 1 ออกมาได้มีค่าเท่ากับ
Yb = [ ( 2×2.01×8 + 2×4.91×12.5 ) + ( 2×2.01×72 + 2×4.91×67.5 ) ] / ( 4×2.01 + 4×4.91 )
Yb = 1107.2 / 27.68
Yb = 40 มม

เรามาต่อกันที่กรณีที่ 2 เลยนะ สำหรับกรณีนี้จะมีค่า Ai ทั้งหมด 2 ค่า เหมือนเดิม และจะมีความแตกต่างออกไปจากกรณีที่ 1 ตรงที่ค่า yi ซึ่งจะไม่มีค่า yi สำหรับเหล็กข้ออ้อยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม ดังนั้นหากเราทำการแทนค่าต่างๆ ที่หาเอาไว้ข้างต้นเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่า Yb สำหรับกรณีที่ 2 ออกมาได้มีค่าเท่ากับ
Yb = [ ( 2×2.01×8 + 2×4.91×12.5 ) + ( 2×4.91×67.5 ) ] / ( 2×2.01 + 4×4.91 )
Yb = 817.76 / 23.66
Yb = 34.56 มม

 

ซึ่งเพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า ผลจากการคำนวณจากกรณที่ 1 จะพบว่าตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงของกลุ่มเหล็กเสริมนั้นจะอยู่ที่ตรงกึ่งกลางแบบพอดิบพอดีเลยและสำหรับกรณีที่ 2 ที่ตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงของกลุ่มเหล็กเสริมนั้นจะอยู่ค่อนลงมาต่ำกว่าตำแหน่งกึ่งกลางเล็กน้อยนั้นก็เป็นเพราะว่า ที่เหล็กเสริมแถวบนนั้นจะขาดหายไปซึ่งเหล็กข้ออ้อยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม ซึ่งจะส่งผลทำให้ตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงของชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นลดต่ำลงมาเล็กน้อยนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันศุกร์
#ฝากคำถามแล้วเราจะมาตอบให้
#เทคนิคในการคำนวณหาระยะจุดศูนย์ถ่วงของชิ้นส่วนโครงสร้างที่มีความแข็งแรงเทียบเท่ากัน
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam

เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)เสาเข็มเพื่อการสร้างใหม่ หรือต่อเติม!!

posted in: PILE DRIVING

ต้องการเสาเข็มเพื่อสร้างคอนโดขนาดใหญ่ หรือสร้างบ้านโครงการใหม่ แนะนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)โดยภูมิสยามค่ะ!!

เสาเข็มเป็นสิ่งสำคัญ ในการสร้างใหม่ เพื่อเป็นฐานรากในการรองรับน้ำหนักโครงสร้าง และเพื่อป้องกันการทรุดตัวที่อาจจะเกิดขึ้น การเลือกใช้เสาเข็มก็มีความสำคัญ เราขอแนะนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ โดยภูมิสยาม เป็นเสาเข็มที่เหมาะกับทุกงานก่อสร้าง ไม่ว่าจะต่อเติมหรือสร้างใหม่ เพราะเป็นเสาเข็มที่มีขนาดเล็ก แต่มีความสามารถในการรับน้ำหนักที่สูง เสาเข็มแต่ละท่อนสามารถเชื่อมต่อติดกันได้โดยการเชื่อม
และใช้ปั้นจั่นที่ถูกออกมาเป็นพิเศษ ทำให้สามารถตอกเสาเข็มได้ลึกถึงชั้นดินทรายแข็ง ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test
เสาเข็มได้รับอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานการออกแบบการผลิตและตอก ISO 9001:2015 และชีวอนามัยด้านความปลอดภัยในการตอก ISO 45001:2018เสาเข็มสปัน เสาเข็มสปัน

ต้องการเสาเข็ม ที่เหมาะสำหรับงานสรางใหม่ ไว้ใจเลือกใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ และไอไมโครไพล์ ภูมิสยาม เราพร้อมบริการทั่วประเทศ

🔘 Products
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
หรือ 22 cm. แนวทแยง
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

ต้องการตอกเสาเข็ม
สปันไมโครไพล์
ปรึกษาทีมงานได้ที่

LINE น้องสปัน
http://line.me/ti/p/~bsp15

LINE น้องจินนี่
http://line.me/ti/p/~0827901447

LINE@BHUMISIAM
https://line.me/R/ti/p/%40bhumisiam

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com

#เสาเข็ม
#ตอกเสาเข็ม
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์
#micropile
#spunmicropile
#piledriving
#microspun

ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง – ระยะห่างระหว่างแผ่นเหล็กกับโครงสร้างฐานคอนกรีต

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

เพื่อนๆ อาจจะสงสัยว่าเพราะเหตุใดช่วงนี้ผมมักจะพูดถึงเรื่องราวต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องการออกแบบโครงสร้างเหล็กรูปพรรณเยอะนิสนึง นั่นเป็นเพราะชุดคำถามที่ผมได้นำเอามาโพสต์ในช่วงนี้จะมาจากการตั้งคำถามของน้องผู้หญิงท่านหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ ซี่งผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะมาทยอยตอบให้ ดังนั้นผมเชื่อว่าเรื่องราวในวันนี้น่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อน้องท่านนี้และเพื่อนๆ ทุกคนด้วยนั่นก็คือ

“หนูสังเกตเห็นว่าหลสายๆ ครั้งที่บริเวณใต้แผ่นเหล็กหรือ BASE PLATE ที่จะยึดด้วยสลักเกลียวแบบฝังยึดหรือ ANCHOR BOLT นั้นจะถูกทำไว้โดยมีช่องว่างอยู่ ซึ่งช่องว่างตรงนี้จะไม่มีการเติมด้วย NON-SHRINK GROUT เหมือนกับที่พี่เคยได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ หนูอยากจะรบกวนสอบถามพี่ว่าเพราะเหตุใดจึงต้องมีการทำให้มีช่องว่างตรงนี้ค่ะ ?”

ซึ่งผมก็ได้ตอบไปในเบื้องต้นแล้วแต่ต้องถือว่าคำถามข้อนี้เป็นคำถามที่ดีนะ เอาเป็นว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตนำเอาประเด็นๆ นี้มาตอบให้น้องท่านนี้และเพื่อนๆ ทุกคนก็แล้วกันนะครับ


เจ้าช่องว่างนี้มีชื่อเฉพาะที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างเหล็กรูปพรรณว่า STANDOFF DISTANCE หรือบางครั้งเราก็อาจจะเรียกระยะนี้ได้ว่า EXPOSED LENGTH ก็ได้ โดยที่ผมขอให้เพื่อนๆ ดูรูปที่ 1 และ 2 ประกอบซึ่งจุดประสงค์ของการที่ผู้ออกแบบนั้นกำหนดให้มีเจ้าระยะ STANDOFF DISTANCE นั้นเป็นเพราะว่า ในโครงสร้างเสาที่จะถูกยึดลงไปบนฐานที่ทำจากคอนกรีตนั้นจะมีค่าแรงกระทำในแนวราบหรือ LATERAL FORCE และค่าแรงดัดหรือ MOMENT FORCE ที่มีค่าสูงมากกว่าปกติเพราะว่าระยะห่างที่เกิดขึ้นจากการที่เราทำการเว้นเอาไว้ให้เกิดระยะ STANDOFF DISTANCE นั้นจะทำหน้าที่เสมือนแขนของแรงหรือ LEVER ARM โดยที่ผมขอให้เพื่อนๆ ดูรูปที่ 3 ประกอบคำอธิบายด้วย กล่าวคือยิ่งเราทำการกำหนดให้เจ้าระยะ STANDOFF DISTANCE นี้มีค่ามากเท่าใด ก็จะเป็นการช่วยลดภาระของค่าแรงดึงหรือ TENSION FORCE ที่จะเกิดขึ้นในตัวของสลักเกลียวแบบฝังยึดได้มากเท่านั้นนะครับ


ผมขอให้เพื่อนๆ ดูรูปที่ 4 ประกอบคำอธิบายด้วยนะ เราจะเห็นได้จากรายการคำนวณในรูปๆ นี้ว่ายิ่งเราทำการกำหนดให้เจ้าระยะ STANDOFF DISTANCE นี้มีค่ามากเท่าใด ก็จะทำให้ค่าแรงดึงที่จะต้องรับไปโดยสลักเกลียวแบบฝังยึดนั้นมีค่าที่น้อยลงไป ซึ่งตามปกติแล้วใช่ว่าผู้ออกแบบจะสามารถทำการกำหนดให้เจ้าระยะ STANDOFF DISTANCE นั้นมีค่ามากๆ ชนิดที่ไม่มีขอบเขตใดๆ เลยมาจำกัดระยะดังกล่าวได้นะ ดังนั้นเมื่อใดที่เราต้องทำการออกแบบเจ้าระยะ STANDOFF DISTANCE นี้เราก็จะต้องทำการตรวจสอบค่าพิกัดอื่นๆ ร่วมด้วยว่าอยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้หรือเปล่าด้วยเสมอนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอังคาร
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#ความรู้เรื่องระยะห่างระหว่างแผ่นเหล็กกับโครงสร้างฐานคอนกรีต
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com

ประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

ตอนนี้เรากำลังพูดถึงเรื่องงาน โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL กันอยู่และหลังจากที่ก่อนหน้านี้ผมได้พูดถึงหลายๆ เรื่องที่มีความเกี่ยวพันกันกับโครงสร้างเหล็กรูปพรรณไปแล้ว เช่น โครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL BEAM โครงสร้างหลังคายื่น หรือ CANOPY ROOF STRUCTURE เป็นต้น ดังนั้นต่อจากวันนี้ไปผมก็จะขออนุญาตมาพูดถึงเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับงานโครงสร้างเหล็กรูปพรรณนั่นก็คือ โครงสร้างพื้น หรือ FLOOR STRUCTURE ที่เรามักจะนำมาใช้ในงาน โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ กันบ้างนะครับ

ในวันนี้พื้นประเภทแรกที่ผมจะขอนำมาใช้ในการอธิบายถึงก็คือ โครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีก หรือ STRUCTURAL STEEL GRATING โดยที่พื้นชนิดนี้ก็จะมีรูปร่างและการใช้งานเป็นไปตามรูปที่ 1 2 3 และ 4 ที่ผมได้นำมาฝากเพื่อนๆ ซึ่งเจ้าพื้นตะแกรงเหล็กที่ได้ทำออกมานั้นก็จะมีทั้งลวดลายและรูปแบบที่มีขนาดความหนาต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้นำไปใช้เป็นโครงสร้างพื้นในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ โดยที่ลวดลายของเจ้าโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกนี้ก็มักจะทำออกมาให้มีช่องว่างเกิดขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้น้ำนั้นสามารถที่จะระบายผ่านไปได้โดยที่ไม่ต้องทำให้พื้นนั้นมีความลาดเอียง หรือ SLOPE ใดๆ เลย พูดง่ายๆ ก็คือ จุดประสงค์ของการทำให้ช่องว่างเหล่านี้นั่นเป็นเพราะเราไม่ต้องการที่จะให้น้ำนั้นต้องขังอยู่ในโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกเพราะสุดท้ายแล้วหากเกิดมีน้ำขัง ยิ่งนานวันเข้าก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะทำให้โครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกของเรานั้นเป็นสนิมได้ ซึ่งหากเราต้องการที่จะนำเอาโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกไปใช้ในพื้นที่ๆ มีสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างจะมีความรุนแรงมากๆ อาจจะเป็นความรุนแรงที่เกิดจากน้ำหรือความชื้นหรืออาจจะเกิดจากสารเคมีก็แล้วแต่ เราก็อาจจะเลือกใช้งานโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกที่มีการทาด้วยสีกันสนิมก็ได้แต่เนื่องด้วยกระบวนการทานั้นอาจจะทำให้สีกันสนิมนั้นไม่สามารถที่จะเข้าถึงช่องว่างทั้งหมดที่มีอยู่ในโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกได้ เราก็อาจที่จะเลือกใช้เป็นการนำเอาโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกไปชุบด้วยกัลป์วาไนซ์เหมือนกันกับพื้นตะแกรงเหล็กฉีกในรูปที่ 5 ก็ได้ ซึ่งก็อาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าวัสดุนั้นเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อยแต่สุดท้ายแล้วผลที่จะได้ก็จะมีความคุ้มค่าอย่างแน่นอนครับ

ต่อมาเมื่อเราพูดถึงโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกเมื่อใด เราก็ต้องนึกถึงระบบของโครงสร้างที่จะมาทำหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักของโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกนี้ ซึ่งเราก็มักที่จะใช้เป็น โครงสร้างระบบตงเหล็ก หรือ STEEL JOIST STRUCTURAL SYSTEM ซึ่งขนาดของระยะห่างของตงเหล็กนั้นก็จะขึ้นอยู่กับขนาดความหนาของเจ้าโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกเป็นหลัก โดยที่หากดูจากรูปที่ 6 ซึ่งเป็นค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ที่แนะนำให้ใช้ เช่น ค่าน้ำหนักบรรทุกใช้งานในแนวดิ่งกับค่าระยะห่างของตงเหล็กเมื่อมีการวางแบบช่วงเดียวหรือต่อเนื่องเป็นช่วงๆ เป็นต้น ซึ่งก็จะเห็นได้ว่า ยิ่งโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกของเรานั้นมีความหนาที่มาก มีระยะห่างของตงเหล็กที่ถี่มากๆ และมีรูปแบบของการวางที่มีความต่อเนื่องแบบหลายๆ ช่วงมากเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้โครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกของเรานั้นมีค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งที่มากขึ้นตามไปด้วยนะครับ

สุดท้ายสิ่งที่ผมอยากจะขอฝากเอาไว้สำหรับโครงสร้างพื้นประเภทนี้ก็คือ เนื่องจากตัวโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกนั้นมีขนาดความหนาที่ค่อนข้างที่จะน้อยมากๆ ซึ่งก็ต้องอาศัยตงเหล็กมาช่วยเป็นตัวซอยเพื่อให้สามารถที่จะช่วยในการรับน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งได้ ดังนั้นหากเพื่อนๆ เป็นผู้ออกแบบผมอยากจะขอให้คำแนะนำเอาไว้เพียงสั้นๆ ว่า เพื่อนๆ ควรที่จะหลีกเลี่ยงการที่จะทำการออกแบบอาคารของเพื่อนๆ ให้มีคุณลักษณะของ DIAPHRAGM แต่หากมีความต้องการที่จะทำการจำลองให้มีคุณลักษณะของ DIAPHRAGM จริงๆ ก็อาจจะต้องพิจารณานำเอาค่า EQUIVALENT LATERAL STIFFNESS ที่มีอยู่ในโครงสร้างตงเหล็กมาใช้ก็พอได้แต่ก็จะต้องพิจารณาเรื่องจำเป็นอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น ต้องทำการพิจารณาและออกแบบให้โครงสร้างส่วนนี้ให้สามารถที่จะมีกำลังรับแรงกระทำตามแนวแกนหรือ AXIAL FORCE CAPACITY ที่มีความเพียงพอด้วยเสมอ เป็นต้นนะครับ
ในสัปดาห์หน้าผมจะนำเอาเรื่องพื้นประเภทใดมาอธิบายต่อเพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนได้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องประเภทของพื้นที่มีการใช้งานในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณก็สามารถที่จะติดตามรับชมและอ่านบทความของผมกันได้ในสัปดาห์หน้านะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#ความรู้เรื่องโครงสร้างพื้นที่มีการใช้งานในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
#ครั้งที่1
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com

สร้างใหม่ ด้วยเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ Spunmicropile และเสาเข็ม ไอไมโครไพล์ I-Micropile ขนส่งไกลข้ามน้ำข้ามทะเล ไปถึงเกาะ ภูมิสยาม พร้อมให้บริการ ทั่วประเทศ

สร้างใหม่ ด้วยเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ Spunmicropile และเสาเข็ม ไอไมโครไพล์ I-Micropile ขนส่งไกลข้ามน้ำข้ามทะเล ไปถึงเกาะ ภูมิสยาม พร้อมให้บริการ ทั่วประเทศ

เสาเข็มสปันไมโครไพล์ เป็นเสาเข็มขนาดเล็ก แต่มีความมั่นคงแข็งแรงสูง มีข้อดีในเรื่องของ แรงสั่นสะเทือนขณะตอกมีน้อย ถึงแม้ว่าจะตอกเสาเข็มใช้ความยาวมาก ก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้ โดยดินจะขึ้นทางรูกลวงของเสาเข็ม ซึ่งจะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่อโครงสร้าง และยังช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง หน้างานสะอาด โครงสร้างของเสาเข็ม Spun micro pile เป็นเหล็ก Dowel และพันรอบโครงเหล็กแกนหลักตั้งแต่ต้นเสาเข็มจนถึงปลาย ด้วยเหล็ก เหล็กปลอกรัดรอบหัวเข็ม เป็นเหล็กแบนหนา และเสาเข็มแต่ละท่อนจะมีความยาว 1.5 เมตร ซึ่งความยาวนี้สามารถเพิ่มได้โดยตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนแรก ลงไปในดินจนเกือบมิด แล้วจึงนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ ท่อนที่ 2 มาจรดกับเสาเข็มท่อนแรกในแนวตรง แล้วจึงทดสอบด้วยมาตรวัดระดับน้ำอีกครั้ง จากนั้นเชื่อมต่อเหล็กที่ขอบของหัวเสาเข็ม ให้ติดกันด้วยการเชื่อมแบบไฟฟ้า โดยเสาเข็มที่นำมาเชื่อมต่อกัน จะต้องมีลักษณะและขนาดของพื้นที่หน้าตัดเท่ากัน ทำให้สามารถตอกต่อกันได้ลึกถึงชั้นดินทรายแข็ง

ไม่ว่าหน้างานจะอยู่ที่ไหน ใกล้หรือไกล ทีมงานภูมิสยามพร้อมให้บริการ ตอกตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และเสาเข็มไอไมโครไพล์ ด้วยทีมงานมืออาชีพ เสาเข็มของภูมิสยามได้รับ มาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549


Miss Spunpile 

Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com

1 2 3 4 5 16